เมนู

สมมติกถาและปรมัตถกถา


อนึ่ง กถา คือถ้อยคำ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมี 2 คือ
สมมติกถาและปรมัตถกถา
ในกถาทั้ง 2 นั้น คำว่า สัตว์ บุคคล
เทวดา พรหม เป็นต้น ชื่อว่า สมมติกถา คำว่า อนิจจัง ทุก-
ขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน และสัมมัปธาน
เป็นต้น ชื่อ ปรมัตกถา.
บรรดากถาทั้ง 2 เหล่านั้น บุคคลใดครั้น
เมื่อคำว่า สัตว์ ฯ ล ฯ หรือ พรหม เป็นต้น ที่พระองค์ทรงตรัส
แล้วด้วยเทศนาอันเป็นของสมมติ ย่อมอาจเพื่อรู้ธรรม เพื่อแทงตลอด
เพื่อออกไปจากสังสารวัฏ เพื่อถือเอาชัย คือ พระอรหัตต์ได้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าย่อมกล่าวถึงคำว่า สัตว์ หรือบุคคล หรือบุรุษ หรือพรหม
จำเดิมแต่ต้นทีเดียวสำหรับผู้นั้น. ส่วนผู้ใด สดับฟังคำว่า อนิจจัง
ทุกขัง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปรมัตถเทศนาแล้วก็อาจเพื่อรู้
เพื่อแทงตลอด เพื่อออกไปจากสงสาร เพื่อถือเอาชัยคือพระอรหัตต์ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสคำอย่างใดอย่างหนึ่งในคำว่าอนิจจัง เป็นต้น
เพื่อผู้นั้น ดังนี้. โดยทำนองเดียวกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่ตรัส
ปรมัตถกถาก่อน สำหรับสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยสมมติกถา ก็เพราะการ
ตรัสรู้แห่งสัตว์ด้วยสมมติกถา พระองค์จึงทรงตรัสปรมัตถกถาในภาย
หลัง. เมื่อสัตว์ผู้จะตรัสรู้ด้วยปรมัตถกถาได้ พระองค์ก็ไม่ตรัสสมมติ-
กถาก่อน เพราะว่าการตรัสรู้ของสัตว์ทั้งหลายอาศัยปรมัตถกถาได้
พระองค์จึงทรงตรัสสมมติกถาในภายหลัง อนึ่ง โดยปกติพระองค์ย่อม

ตรัสสมมติกถาก่อนทีเดียว แล้วจึงตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง ซึ่ง
เป็นการเทศนาที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึง
ทรงแสดงสมมติกถาก่อน แล้วก็ตรัสปรมัตถกถาในภายหลัง พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายเหล่านั้น แม้ตรัสอยู่ซึ่งสมมติกถา ชื่อว่ากถาย่อมกล่าวซึ่งสัจจะ
นั่นแหละ ซึ่งสภาวะนั่นแหละจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าวเท็จก็หาไม่ แม้เมื่อ
ตรัสปรมัตถกา ก็ชื่อว่าย่อมกล่าวซึ่งสัจจะซึ่งสภาวะนั่นแหละ จะชื่อว่า
เป็นผู้กล่าวคำเท็จก็หาไม่. จริงอยู่ บัณฑิตพึงทราบความนี้ว่า :-
ทุเว สจฺจานิ อกฺขาสิ สมฺพุโธ วทตํ วโร
สมฺมตึ ปรมตฺถญฺจ ตติยํ นูปลพฺภติ ฯ
บรรดาผู้กล่าวกถาทั้งหลาย พระสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ได้ตรัส
บอกแล้วซึ่งสัจจะ 2 คือ สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสบอก
สัจจะที่ 3 ว่าเป็นสภาวะที่หยั่งเห็นได้.
บรรดาสัจจะทั้ง 2 เหล่านั้น สมมติสัจจะเป็นคำสำหรับกำหนด
และเป็นเหตุแห่งการสมมติของชาวโลก ส่วนปรมัตถสัจจะเป็นคำปรมัตถะ
เป็นลักษณะแห่งธรรมทั้งหลาย.
อีกนัยหนึ่ง เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี 2 คือ เป็น
ปรมัตถเทศนาด้วยสามารถแห่งคำว่า ขันธ์ เป็นต้น และเป็นสมมติ
เทศนาด้วยคำว่า หม้อเนยใสเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงชำระ
คำบัญญัติออกไปเหตุใด เพราะเหตุนั้นบัณฑิตไม่พึงทำความยึดถือคำ

เพียงสักว่า บุคคลมีอยู่. จริงอยู่ พระบรมศาสดามิได้ทรงละบัญญัติ
แล้วประกาศปรมัตถะ และมิได้ทรงชำระคำบัญญัติ เพราะฉะนั้นบัณฑิต
แม้อื่น ๆ เมื่อประกาศปรมัตถะก็ไม่พึงชำระคำบัญญัติ ฉันนั้น. คำที่เหลือ
ในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
ปัญหาอาศัยภพเป็นต้น จบ

ปริหานิกถา


[191] สกวาที พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้ง-
ปวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ในภพทั้ง-
ปวง หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ [มีได้] ในภพ
ทั้งปวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระอรหันต์ เสื่อมจากอรหัตผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ในกาลทั้งปวง
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เหตุเสื่อมของพระอรหันต์ [มีได้] ในกาล
ทั้งปวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ